ขมิ้นชัน

ชื่อสมุนไพร

ขมิ้นชัน

ชื่อวิทยาศาสตร์

Curcuma longa

ข้อบ่งใช้บนหลักฐานเชิงประจักษ์ในคน

  • ผงเหง้าขมิ้นชันช่วยบรรเทาอาการแน่นจุกเสียด ท้องอืด หรือท้องเฟ้อ รับประทานครั้งละ 500 มก.- 1 กรัม วันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน เมื่อมีอาการ หลังใช้ ถ้าอาการไม่ดีขึ้นภายใน 2 สัปดาห์ให้ปรึกษาแพทย์ 

           *รับรองโดยบัญชียาหลักแห่งชาติ, แนะนำให้ใช้ในระยะสั้น

  • งานวิจัยในผู้ป่วยอาหารไม่ย่อย (functional dyspepsia) จำนวน 132 คน ได้รับยาผงขมิ้นชันแคปซูล ขนาด 500 มก. วันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน เป็นเวลา 4 สัปดาห์ เทียบกับยา omeprazole และยาหลอก พบว่า ขมิ้นชันช่วยบรรเทาอาการปวดท้องได้ไม่แตกต่างจากยา omeprazole และดีกว่ายาหลอก

           *ปานกลาง, อาจใช้สำหรับข้อบ่งใช้นี้

             ไม่แนะนำให้ใช้ยาผงขมิ้นชันร่วมกับยา omeprazole สำหรับบรรเทาอาการ functional dyspepsia เพราะไม่เพิ่มประสิทธิผลในการรักษา

  • งานวิจัย 8 การศึกษาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 646 คน ได้รับผงขมิ้นชัน ขนาด 1.5 กรัมต่อวัน (มีสารสำคัญ curcumin ขนาด 66.3 มก.) ถึงขนาด 2.1 กรัมต่อวัน หรือในรูปแบบสารสกัดขมิ้นชัน ขนาด 0.03-1.5 กรัมต่อวัน อย่างน้อย 8 สัปดาห์ พบว่า ลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ ประมาณ 10 มก.ต่อเดซิลิตร และ ลดระดับ HbA1c ได้ประมาณ 0.5%

          *ปานกลาง, อาจใช้เสริมการรักษามาตรฐาน

  • งานวิจัย 21 การศึกษาในผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน จำนวน 1,604 คน รับประทานแคปซูลผงขมิ้นชัน ขนาด 1-2.8 กรัมต่อวัน หรือ สารสกัดขมิ้นชัน ขนาด 500 มก.ต่อวัน รับประทานเป็นเวลา 8 สัปดาห์ พบว่า ลดน้ำหนักตัวในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ประมาณ 0.23 กก. และลดดัชนีมวลกาย (BMI) ได้ประมาณ 0.37 kg/m2

          *ปานกลาง, อาจใช้สำหรับข้อบ่งใช้นี้

  • งานวิจัย 7 การศึกษาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 และผู้ที่มีภาวะเมแทบอลิกซินโดรม จำนวน 649 คน พบว่า สารสกัดขมิ้นชัน ขนาด 600-1,890 มก.ต่อวัน  แบ่งรับประทานวันละ 2 ครั้ง มีผลลดไขมันไม่ดี (LDL) และ ไตรกลีเซอไรด์ได้น้อยมาก ไม่ถึง 1 มก.ต่อเดซิลิตร สำหรับผลของขมิ้นชันในการลดระดับคอเลสเตอรอลและเพิ่มไขมันดี (HDL) พบว่า ไม่แตกต่างจากผู้ที่ไม่ได้ใช้

          *ปานกลาง, ไม่แนะนำให้ใช้

  • ห้ามใช้ขมิ้นชันแทนยารักษาเบาหวานหรือยาลดไขมัน เพราะขมิ้นชันลดน้ำตาลและไขมันในเลือดได้ไม่แน่นอน และลดไขมันในเลือดได้น้อยมาก
  • ยังไม่มีงานวิจัยในคนยืนยันว่าสามารถป้องกันการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดได้

          *ไม่มีข้อมูล, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัย 5 การศึกษาในผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนที่ไต จำนวน 290 คน รับประทานขมิ้นชัน ขนาด 320-1,670 มก.ต่อวัน เป็นเวลา 2-6 เดือน พบว่า ทำให้ค่าการทำงานไตดีขึ้นเล็กน้อย (Scr) แต่ไม่มีผลต่อค่า BUN และปริมาณโปรตีนในปัสสาวะ (proteinuria)

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • ข้อบ่งใช้บรรเทาอาการปวดข้อ งานวิจัย 8 การศึกษาในผู้ที่มีข้อเข่าเสื่อมหรือรูมาตอยด์ จำนวน 892 คน รับประทานสารสกัดขมิ้นชัน ขนาด 500-1,000 มก.ต่อวัน เป็นเวลา 1-4 เดือน พบว่า ลดอาการปวดได้

          *ปานกลาง, อาจใช้สำหรับข้อบ่งใช้นี้

  • งานวิจัยในผู้สูงอายุที่มีอาการปวดเข่าจากโรคข้อเข่าเสื่อม จำนวนน้อย (72 คน) ทาขี้ผึ้งสารสกัดขมิ้นชัน ความเข้มข้น 5% ทาบริเวณที่ปวด วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 6 สัปดาห์ ถึงเริ่มเห็นผลว่า อาจช่วยบรรเทาอาการปวดได้

          *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัย 6 การศึกษาในผู้ที่มีไขมันพอกตับ จำนวน 315 คน รับประทานขมิ้นชัน ขนาด 500 – 2,000 มก.ต่อวัน เป็นเวลา 3 เดือน พบว่า ขมิ้นชันมีผลทำให้ค่าเอนไซม์ตับดีขึ้นเล็กน้อย (AST,ALT)

          *ปานกลาง, อาจใช้เสริมการรักษามาตรฐาน

  • งานวิจัย 22 การศึกษาในผู้ป่วยมะเร็งชนิดต่าง ๆ จำนวน 798 คน ได้รับผงขมิ้นชัน ขนาด 1-8 กรัมต่อวัน เป็นเวลา 7 วัน ถึง 2 ปี ร่วมกับการรักษาแผนปัจจุบัน ผลการศึกษาพบว่า อาจได้ประโยชน์

          *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  •  งานวิจัย 6 การศึกษาในผู้ป่วยโควิดรุนแรงน้อยถึงปานกลาง จำนวน 438 คน ได้รับขมิ้นชันรูปแบบนาโน วันละ 160 มก. ร่วมกับการรักษามาตรฐาน เป็นเวลา 2-3 สัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่า ช่วยบรรเทาอาการไอ หนาวสั่น ปวดกล้ามเนื้อ และลดความรุนแรงของโรค

          *ปานกลางถึงสูง, อาจใช้สำหรับข้อบ่งใช้นี้ ร่วมกับการรักษามาตรฐานและอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์

  • งานวิจัย 8 การศึกษาในผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดี น้ำหนักตัวเกิน มีโรคประจำตัว Alzheimer’s disease หรือ Schizophrenia จำนวน 389 คน รับประทานสารสกัดขมิ้นชัน (curcumin) ขนาด 80-360 มก./วัน หรือ curcuminoids 1-4 กรัม/วัน เป็นเวลา 8 สัปดาห์ - 18 เดือน พบว่า ช่วยให้ความจำระยะสั้นดีขึ้นเล็กน้อย แต่ไม่มีผลต่อผลรวมของการทำงานของสมองในการคิดวิเคราะห์และตัดสินใจ (cognitive function)

          *สูง, อาจใช้เสริมการรักษามาตรฐาน

  • งานวิจัยในผู้ป่วยไมเกรน จำนวน 100 คน อายุเฉลี่ย 32 ปี ได้รับ nano curcumin ขนาด 80 มก.ต่อวัน เทียบกับกลุ่มที่ได้รับ nano curcumin ขนาด 80 มก.ต่อวัน ร่วมกับ coenzyme Q10 ขนาด 300 มก.ต่อวัน พบว่ากลุ่มที่ได้รับ nano curcumin ร่วมกับ coenzyme Q10 ลดความถี่ ความรุนแรง และระยะเวลาการเป็นไมเกรน ได้มากกว่ากลุ่มที่ได้ nano curcumin เพียงชนิดเดียว และกลุ่มที่ได้รับ nano curcumin เพียงชนิดเดียวได้ผลดีกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ใช้

           *ปานกลาง, อาจใช้เสริมการรักษามาตรฐาน

This Section for Subscription Only
+ ข้อควรระวัง
+ อันตรกิริยากับยา
+ ปรึกษากับอาจารย์มยุรี

เอกสารอ้างอิง

  1. Poolsup N, Suksomboon N, Kurnianta PDM, Deawjaroen K. Effects of curcumin on glycemic control and lipid profile in prediabetes and type 2 diabetes mellitus: A systematic review and meta-analysis. PLoS One. 2019;14(4):e0215840.
  2. Akbari M, Lankarani KB, Tabrizi R, Ghayour-Mobarhan M, Peymani P, Ferns G, et al. The effects of curcumin on weight loss among patients with metabolic syndrome and related disorders: A systematic review and meta-analysis of randomized controlled trials. Front Pharmacol. 2019;10:649.
  3. Smith TJ, Ashar BH. Iron deficiency anemia due to high-dose turmeric. Cureus. 2019;11(1):e3858.
  4. Qin S, Huang L, Gong J, Shen S, Huang J, Ren H, et al. Efficacy and safety of turmeric and curcumin in lowering blood lipid levels in patients with cardiovascular risk factors: a meta-analysis of randomized controlled trials. Nutr J. 2017;16(1):68.
  5. Niranjana Sri S, Thiagarajan R, Manikandan R, Arumugam M. Chapter 2.15 - Curcumin-Based Food Supplements: Challenges and Future Prospects. In: Nabavi SM, Silva AS, editors. Nonvitamin and Nonmineral Nutritional Supplements: Academic Press; 2019. p. 119-28.
  6. Goodarzi R, Sabzian K, Shishehbor F, Mansoori A. Does turmeric/curcumin supplementation improve serum alanine aminotransferase and aspartate aminotransferase levels in patients with nonalcoholic fatty liver disease? A systematic review and meta-analysis of randomized controlled trials. Phytother Res. 2019;33(3):561-70.
  7. Daily JW, Yang M, Park S. Efficacy of Turmeric extracts and Curcumin for alleviating the symptoms of joint arthritis: a systematic review and meta-analysis of randomized clinical trials. J Med Food. 2016;19(8):717-29.
  8. Jamali N, Adib-Hajbaghery M, Soleimani A. The effect of curcumin ointment on knee pain in older adults with osteoarthritis: a randomized placebo trial. BMC Complement Med Ther. 2020;20(1):305.
  9. Saber-Moghaddam N, Salari S, Hejazi S, Amini M, Taherzadeh ZA-OX, Eslami S, et al. Oral nano-curcumin formulation efficacy in management of mild to moderate hospitalized coronavirus disease-19 patients: An open label nonrandomized clinical trial. Phytother Res. 2021:doi: 10.1002/ptr.7004. Online ahead of print.
  10. Mansouri K, Rasoulpoor S, Daneshkhah A, Abolfathi S, Salari N, Mohammadi M, et al. Clinical effects of curcumin in enhancing cancer therapy: A systematic review. BMC Cancer. 2020;20(1):791.
  11. Volak LP, Ghirmai S, Cashman JR, Court MH. Curcuminoids inhibit multiple human cytochromes P450, UDP-glucuronosyltransferase, and sulfotransferase enzymes, whereas piperine is a relatively selective CYP3A4 inhibitor. Drug Metab Dispos. 2008;36(8):1594-605.
  12. Vahedian-Azimi A, Abbasifard M, Rahimi-Bashar F, Guest PC, Majeed M, Mohammadi A, et al. Effectiveness of curcumin on outcomes of hospitalized COVID-19 patients: A systematic review of clinical trials. Nutrients. 2022;14(2):256.
  13. Jie Z, Chao M, Jun A, Wei S, LiFeng M. Effect of curcumin on diabetic kidney disease: A systematic review and meta-analysis of randomized, double-blind, placebo-controlled clinical trials. Evid Based Complement Alternat Med. 2021;2021:6109406.
  14. Yongwatana K, Harinwan K, Chirapongsathorn S, Opuchar K, Sanpajit T, Piyanirun W, et al. Curcuma longa Linn versus omeprazole in treatment of functional dyspepsia: A randomized, double-blind, placebo-controlled trial. J Gastroenterol Hepatol. 2022;37(2):335-41.
  15. Pradermchai K, Wichittra K, Chawin L, et al. Comparable efficacy of curcumin and proton pump inhibitor for functional dyspepsia: A randomized double-blind controlled trial. medRxiv. 2022:2022.2012.2008.22283167.
  16. Halegoua-DeMarzio D, Navarro V, Ahmad J, Avula B, Barnhart H, Barritt AS, et al. Liver injury associated with turmeric—A growing problem: Ten cases from the Drug-Induced Liver Injury Network [DILIN]. Am J Med. 2023;136(2):200-6.
  17. Gronich, N., et al. Spontaneous bleeding and curcumin: Case report. J Clin Images Med Case Rep.2022; 3(11): 2141.
  18. Tsai, I. C., et al. The effect of curcumin differs on individual cognitive domains across different patient populations: A systematic review and meta-analysis. Pharmaceuticals (Basel, Switzerland). 2021; 14(12): 1235.
  19. Parohan M, et al. The synergistic effects of nano-curcumin and coenzyme Q10 supplementation in migraine prophylaxis: a randomized, placebo-controlled, double-blind trial. Nutr Neurosci. 2021;24(4):317-26.
Herbalexpertbymayuree Application
Copyright © 2020 by M.Tangkiatkumjai
Visitors : 154592